หมายถึงพระภิกษุ ฝ่ายที่มุ่งศึกษาธรรม โดยการกระทำ หรือลงมือปฏิบัติ และพำนักอยู่ ตามป่าเขาที่สงบ สงัด สะดวกต่อการปฏิบัติ จึงเรียกว่า " พระฝ่ายอรัญวาสี พระธุดงค์กรรมฐาน " หรือพระป่านั้นเองโดยมี* พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต *เป็นต้น ซึ่งเป็นบุพพาจารย์ใหญ่ผู้นำกองทัพธรรมพระธุดงค์กรรมฐานทั้งฝ่ายธรรมยุติและฝ่ายมหานิกายตลอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ "พระธุดงค์ในไทยแบ่งออกเป็นสายใหญ่ ๆ" ได้ ๒ สายคือ
สายแรกเป็นพระธุดงค์กรรมฐานฝ่ายธรรมยุติ หรือเรียกว่าสาย * พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต* และในยุคปัจจุบันนี้ซึ่งมีพ่อแม่ครูบาจารย์อีกหลาย ๆ รูป ในบรรดาศิษยานุศิษย์ของ * พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต* ที่ไม่ สามารถเอ่ยนามได้ทั้งหมดและขอเอ่ยนามครูบาอาจารย์ที่มีความเกี่ยวข้องและมีความเคารพที่สุดของพระครูวิเทศธรรมานุศาสน์ คือ "หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโม " วัดป่าประชาชุมพล ๆ บ้านหนองใหญ่ จังหวัดอุดรธานี และ" หลวงปู่ถิร ฐิตธัมโม " วัดบ้านจิก จังหวัดอุดรธานี และ "หลวงตามหาบัว" ทั้ง ๓ รูปนี้ซึ่งเป็นศิษยานุศิษย์ของ *พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต* และโดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านสาธุชนทั้งหลายได้รู้กันโดยทั่ว ๆ ไปในประเทศไทยและต่างประเทศ คือ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี เป็นต้น ซึ่งเป็นผู้นำกองทัพธรรมไปประกาศให้คนทั่วโลกได้รู้จักพระธุดงค์ -กรรมฐาน (หรือพระป่า) ส่วนสายที่ ๒ เป็นพระธุดงค์กรรมฐานฝ่ายมหานิกาย คือ " หลวงพ่อชา สุภัทโท " วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น ซึ่งเป็นผู้รักษาข้อวัตรปฏิบัติและปฏิปทาของ *พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต* เพื่อเป็นเยี่ยมอย่างที่ดีฝ่ายมหานิกายตลอดมาจนกระทั่งเผยแผ่ไปยังพระสงฆ์นานาชาติในบรรดาศิษยานุศิษย์ของ" หลวงพ่อชา สุภัทโท " ซึ่งเป็นบุพพาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระธุดงค์กรรมฐานสาย * พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต* และพระภิกษุรูปใดที่ได้รับการอบรมสืบทอดปฏิปทาของ " หลวงพ่อชา สุภัทโท " ได้อย่างถูกต้องแล้วถือว่าเป็นผู้ประสพความสำเร็จ ในขั้นอุกฤษฏ์ จนบรรลุถึงธรรมชั้นสูงสุด และได้สร้างชื่อเสียงเกียรติศักดิ์ของพระพุทธศาสนาให้โด่งดังไปทั่วโลก
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้ให้การอบรม สั่งสมบารมีธรรมแก่พระภิกษุสามเณร จนมีศิษย์ เป็นพระธุดงค์กรรมฐาน ผู้ทรงคุณธรรม สัมมาปฏิบัติ ออกจาริกธุดงค์ เผยแผ่ธรรม เป็นอันมาก ประมาณปี พ.ศ๒๔๕๙ เป็นต้นมา พระป่าสาย พระอาจารย์มั่น เริ่มทยอยเพิ่มจำนวนมากขึ้น ขยายงานการเผยแผ่ในภาคอีสาน โดยเฉพาะทางจังหวัดอุดรธานี, หนองคาย, นครพนม, สกลนคร, อุบลราชธานี, นครราชสีมา, ขอนแก่น และตามภูมิภาคต่าง ๆ ที่ทัพธรรมสาย * พระอาจารย์มั่น *ได้แผ่ไปถึง พระป่าทุกรูป จะต้องรักษาศีลอย่างบริสุทธิ์ ในกระบวนไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา
ศีล คือการงดเว้นจากบาปทั่งปวงหรือการรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ไม่ล่วงละเมิด ซึ่งถือเอาศีลเป็นที่ระลึก เช่น ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ เป็นเครื่องทดสอบสมณะเพศ เพราะการรักษาศีล ต้องการศรัทธา ความตั้งใจ ถ้าผู้ใดรักษาศีลให้บริสุทธิ์ไม่ได้ ก็อย่าหวังเลยที่จะก้าวหน้าในทางธรรมชั้นสูง ศีล เป็นฐานที่ตั้งแห่งสมาธิ ศีลจะต้องดีก่อน สมาธิจึงจะดีได้ พระป่าจึงเชื่อว่าศีลที่บริสุทธิ์จะเป็นเกราะป้องกันที่ดีที่สุด
สมาธิ คือความตั้งใจมั่น วิธีเดินจงกรมและนั่งสมาธิ สำหรับการเดินจงกรม คือเดินกลับไปกลับมาในท่าสำรวมมีสติอยู่กับบทธรรม หรือสิ่งที่พิจารณาโดยสม่ำเสมอ ไม่ส่งจิตไปที่อื่น รวมทั้งการยืนกำหนดหรือพิจารณาบริกรรม เวลานั่งสมาธิภาวนา คือความตั้งมั่นการทำจิตให้รู้มีสติ คือความระลึกรู้อยู่ลมหายใจ หายใจเข้า ว่าพุท หายใจออก ว่าโธ ให้ระลึกอยู่อย่างนั้น ข้อสังเกตและระวัง ขณะนั่งภาวนา อย่าให้จิตส่งไปดูนรก สวรรค์ ดูเวรกรรมของตนหรือผู้อื่น และการออกจากสมาธิภาวนา ควรพึงออกด้วยความมีสติประคองใจ
ปัญญา คือความรอบรู้ พิจารณากายภายนอกและภายใน ภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสต่างๆ มีอยู่ทั่วไปตลอดเวลาเมื่อมีสิ่งรับทราบกัน สิ่งเหล่านั้นจะสัมผัสสัมพันธ์ไม่ขาดวรรคขาดตอนกับสิ่งภายในคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ความมีสติ มีปัญญาเครื่องพิสูจน์กลั่นกรองกับสิ่งที่มาสัมผัสย่อมได้อุบายขึ้นมา พิจารณาในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้ทราบว่าเป็นอาการหนึ่ง ของขันธ์นี่เท่านั้น เวทนา ความสุข ความทุกข์ ทุกข์กายทุกข์ใจ สุขกายสุขใจ ก็"อนัตตา" สรุปความก็คือ "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" ไปลงที่นั่น ไม่ไปไหน เพราะความจริงอยู่ที่นั่นเมื่อสิ่งเหล่านั้นมาสัมผัสสัมพันธ์กับตัวเราย่อมเป็นการปลุกความรู้สึกขึ้นมา เมื่อจิตใจมีความตั้งมั่นต่อเหตุผลหรืออรรถธรรมอยู่แล้ว ก็ทราบได้ทั้งสิ่งดีและชั่วที่มาสัมผัส การพิจารณาให้เป็นสภาพอันเดียวกัน คือ "ไตรลักษณ์"ตามนั้นเรียกว่าเรียนธรรม ปฏิบัติธรรม
การถือธุดงค์ของพระป่า มีข้อปฏิบัติ "ธุดงควัตร" ๑๓ ประกอบด้วย
- ถือการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
- ถือการนุ่งห่มผ้าสามผืนเป็นวัตร
- ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร
- ถือการบิณฑบาตไปโดยลำดับแถวเป็นวัตร
- ถือการฉันจังหันมื้อเดียวเป็นวัตร
- ถือการฉันในบาตรเป็นวัตร
- ถือการห้ามภัตตาหารที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร
- ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
- ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร
- ถือการอยู่ อัพโภกาลิกังคะ ที่แจ้งเป็นวัตร
- ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร
- ถือการอยู่ในเสนาสนะตามมีตามได้เป็นวัตร
- ถือเนสัชชิกังคธุดงค์ คือการไม่นอนเป็นวัตร
อานิสงส์ การปฏิบัติธุดงควัตร ทำให้พระป่าที่จาริกไปตามป่าเขา พำนักตามโคนไม้ เพิงผาและตามถ้ำเป็นอยู่อย่างสมถะ เสียสละ ลดละอุปโภคบริโภค ทำให้จิตของท่านเป็นอิสระพ้นจากพันธนาการเครื่องร้อยรัดขัดขวาง สู่ความเบาสบาย สงบ เอื้อต่อการเจริญสมาธิภาวนา บำเพ็ญความเพียร
สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อพระสงฆ์
- กราบพระต้องกราบ ๓ ครั้ง แบบเบญจางค์ประดิษฐ์ คือ ให้ส่วนของเข่าทั้งสอง ข้อศอกทั้งสอง หน้าผากหนึ่ง จรดพื้นทุกครั้ง
- อย่าถวายสิ่งที่เป็นอาหารทุกชนิด หลังจากท่านฉันอาหาร เสร็จแล้วในวันนั้น เมื่อมีศรัทธาให้มอบทายกหรือเก็บไว้ถวายวันต่อไป
- อย่าแตะต้องอาหารที่ถวายไว้แล้ว เว้นแต่จะนำไปถวายใหม่
- การถวายหรือประเคนสิ่งของ อย่าห่างเกินศอกโดยประมาณ ยกของถวายให้พ้นพื้นพอแมวลอดได้ และถวายโดยอาการนอบน้อม
- การถวายของควรถวายตั้งแต่พระเถระลงมาจึงเหมาะสม
- ถวายจำพวกพืชคาม คือ พืชที่ปลูกขึ้นได้โดย หัว ราก ลำต้น เมล็ดเช่น ต้นหอม บัวบก มะเขือ องุ่น ฯลฯ ต้อง "กัปปิยะ" โดยผู้ กัปปิยะ ใช้ของแหลมคม ไฟ หรือเล็บเพื่อตัด แทง จี้ หรือ หยิกสิ่งนั้นพร้อมกับกล่าวคำว่า "กัปปิยัง ภันเต" ขณะเดียวกันพระภิกษุผู้รับจะกล่าวว่า "กัปปิยัง กะโรหิ" แล้วจึงถวายได้
- เจรจากับพระภิกษุสงฆ์ด้วยความเคารพ ด้วยการประนมมือ
- เมื่อฟังธรรมต้องตั้งใจฟัง ไม่นอน สวมหมวก รองเท้า ฯลฯ
- เวลาพระภิกษุแสดงธรรม หรือให้โอวาทอยู่ อย่าพูดสอดแทรกในระหว่างนั้นส่วนบนของฟอร์ม
ข้อกติกาสงฆ์ วัดพุทธรังษี แอนนันเดล และวัดในเคลือข่ายทุก ๆวัด
- พระภิกษุสามเณรและพระธรรมทูต " ห้ามขอของจากคนที่ไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณา "
- พระธรรมทูต" ห้ามบอกหวยและเรียนดิรัจฉานวิชา บอกเลข หมอยา หมอดู
- พระธรรมทูต"ห้ามใช้จ่ายรูปียะด้วยตัวเอง "ตามกฎระเบียบของวัด (เป็นเด็ดขาด)
- พระธรรมทูต"ห้ามดูทีวี ฟังเพลง หรือการดูความสนุกเพลิดเพลินกับสื่อต่างๆ(เด็ดขาด)
- เมื่อจะไปทำอะไรให้ปรึกษาสงฆ์ หรือผู้เป็นประธานสงฆ์เสียก่อนเมื่อเห็นว่าเป็นธรรม เป็นวินัยแล้ว จึงทำ อย่าทำตามใจของตนเอง
- ให้ยินดีในเสนาสนะที่สงฆ์จัดให้และทำความสะอาดเก็บกวาดให้เรียบร้อยอยู่เสมอ
- เมื่อกิจของสงฆ์เกิดขึ้นให้พร้อมกันทำ เมื่อเลิกให้พร้อมกันเลิกอย่าทำตนให้เป็นที่รังเกียจของหมู่คณะ คือเป็นผู้มีมารยาสาไถย หลีกเลี่ยงแก้ตัว
- เมื่อบิณฑบาตเก็บบาตรล้างบาตร กวาดวัด จัดที่ฉัน ฟังเทศน์ ห้ามคุยกัน พึงตั้งใจทำกิจนั้นจริง ๆ
- เมื่อฉันเสร็จแล้ว ให้เก็บที่ฉันล้างบาตรให้เรียบร้อยแล้วพร้อมกันที่ศาลาอีกครั้งเพื่ออนุโมทนาบุญ ให้แก่ญาติโยมที่มาถวายทาน
- ให้ทำตนเป็นผู้มักน้อย เป็นผู้ตื่นด้วยความเพียร และอยู่กันด้วยความเมตตา
- เมื่อเอกลาภเกิดขึ้นในหมู่สงฆ์ ให้เก็บไว้เป็นกองกลางเมื่อท่านรูปใดต้องการ ให้สงฆ์อนุมัติแก่ท่านรูปนั้นตามสมควร
หมายเหตุ: พระธรรมทูตถือฉันจังหันมื้อเดียวเป็นวัตร " ห้ามสองมื้อ" ( เว้นไว้แต่อาพาธ )พระธรรมทูตควรทำวัตรเช้าและเย็น นั่งสมาธิ " ไม่ให้ขาด " (เว้นไว้แต่อาพาธและมีเหตุจำเป็น พระผู้มีพรรษาหย่อน ๕ พรรษา ห้ามเที่ยวไปแต่ลำพังตนเอง เว้นไว้แต่มีเหตุจำเป็นหรือมีอาจารย์ ผู้สมควรติดตามไปด้วย
กิจวัตรประจำวันวัดพุทธรังษี แอนนันเดล และวัดในเคลือข่ายทุก ๆ วัด
- ๐๔.๓๐ น. นั่งสมาธิ ทำวัตรเช้า
- ๐๖.๓๐ น. ทำความสะอาด จัดอาสนะที่ฉัน ออกบิณฑบาต
- ๑๐.๓๐ น. ญาติโยมตักบาตร ถวายภัตตาหาร
- ๑๒.๐๐ น. ถวายสังฆทาน ฟังสัมโมทนียกถา พระสงฆ์อนุโมทนา
- ๑๓.๐๐ น. พักผ่อนตามอัธยาศัย
- ๑๖.๐๐ น. ทำความสะอาดบริเวณวัด
- ๑๙.๐๐ น. ทำวัตรเย็น นั่งสมาธิ ฟังธรรม
- ๒๑.๐๐ น. สนทนาธรรมะกับศรัทธาญาติโยมที่มาร่วมทำวัตรเย็น
( พักผ่อนตามอัธยาศัย )
หมายเหตุ สำหรับวันเสาร์นั่งเจริญจิตภาวนา ตั้งแต่เวลา ๒๑.๓๐ น.ถึง ๒๔.๐๐ น.