พื้นที่ตอนนอกของรั้วเดิมเป็นหอบ้านของชาวบ้านคุ้มบ้านจิกซึ่งมีศาลเจ้าเป็นที่นับถือของคนในหมู่บ้านนี้ ต่อมาคุณแม่ทิพย์ภรรยาพันตำรวจโทพระยงค์พลพ่ายได้ร่วมกับ ร้อยตำรวจโทขุนรัฐกิจบรรหาญ ชักชวนชาวบ้านคุ้มบ้านจิกถวายที่ดินแห่งนี้ให้เป็นที่สำนักสงฆ์เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๓ และสร้าง โบสถ์ (โบสถ์เก่า) อยู่ข้างหน้าศาลเจ้าจนแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๙ เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ไม่ได้จัดฉลองและผูกพัทธสีมา ซึ่งในขณะนั้นมีพระอาจารย์โชติเป็นเจ้าอาวาส และต่อมา พ.ศ.๒๔๘๑ พระอาจารย์อุ่น ธมฺมธโร เป็นเจ้าอาวาส และในปีนี้ พระอาจารย์อุ่นได้เดินทาไปธุดงค์และชักชวนพระ ๓๐ รูป ซึ่งมีหลวงปู่ถิรรวมอยู่ด้วยจากอำเภอมุกดาหารมาอยู่ที่วัดบ้านจิกดังได้กล่าวมาแล้วทุกพรรษา ขณะที่จำพรรษาที่วัดบ้านจิกนี้หลวงปู่มักจะนิมิตเห็นตัวท่านเองนั่งอยู่ในโบสถ์ร้าง ซึ่งหลวงปู่ก็ ไม่ทราบว่าเป็นโบสถ์ไหน หลวงปู่จึงได้แต่คิดว่าทำไมผู้สร้างโบสถ์จึงไม่จัดงานฉลองโบสถ์ แต่ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๙๑ รอย์
ตำรวจโทขุนรัฐกิจบรรหาญและคณะชาวบ้านขออนุญาตจัดงานฉลองและผูกพัทธสีมา หลวงปู่จึทราบว่าที่แท้จริงโบสถ์ร้างใน นิมิตตลอด ๙ ปีก็คือโบสถ์วัดบ้านจิกที่ท่านจำพรรษาอยู่นั่นเอง ประมาณ พ.ศ.๒๔๙๘ คณะภรรยาข้าราชการตำรวจและพ่อค้าชาวจีนในจังหวัดอุดรธานีได้ร่วมกันซื้อที่ดิน นับตั้งแต่ส่วน ที่เป็เตแนวรั้วเตี้ยๆ เก่าแก่ที่ทำด้วยอิฐดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ติดหนองน้ำขึ้นไปทางทิศตะวันออกจนถึงห้วยหนองน้ำแฝด ด้านหลังห้วยน้ำแฝดจะเป็นป่าสำหรับรุกขมูลิกังคธุดงค์ อาณาบริเวณดังกล่าวนี้คือเขตวัดบ้านจิกใหม่ในปัจจุบันในปี พ.ศ.๒๕๐๐ หลวงปู่ได้สร้างศาลากลางน้ำขึ้น เมื่อสร้างจวนเสร็จปรากฏว่าเกิดนิมิตเห็นเป็นชายร่างใหญ่ผิวดำถือปืนเข้า มาจะยิงหลวงปู่ขณะนั่งภวานาอยู่ในกุฏิ แล้วชายคนนั้นถามหลวงปู่ว่า "ท่านกลัวไหม" หลวงปู่ตอบว่า "ไม่กลัว" เพราะชีวิตเราได้สละแล้วตั้งแต่ออกบวช ชายคนนั้นจึงยิงหลวงปู่ ปรากฏว่ากระสุนปืนเฉียดซี่โครงด้ายซ้ายไป แล้วชายคนนั้นก็ อัตรธานหายไป หลวปู่นั่งพิจารณาต่อจึงทราบว่าพรุ่งนี้ศาลากลางน้ำที่กำลังก่อสร้างอยู่จะพังทลายลง มีเสียงถามขึ้นในใจว่า"เสียดายไหม" หลวงปู่ตอบว่า "ไม่เสียดาย ไม่เสียใจ เพราะศาลาหลังนี้ไม่ใช่ศาลาเก่าแก่ แต่เป็นศาลาที่เราสร้างขึ้นมาเองเกิดขึ้นมาทีหลังตัวเรา เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ ภายภาคหน้าถ้ามีบุญบารมีเพียงพอเราก็จะสามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้และจะสร้างให้ดีกว่าเดิม" วันรุ่งขึ้นบังเอิญเจ้าคุณพิศาล เจ้าคณะอำเภอหนองบัวลำภูในขณะนั้น ได้เดินทางมาเยี่ยมและเอ่ยปากกล่าวว่าศาลาใหม่จนเสร็จแล้วน่ะ หลวงปู่จึงบอกว่า ในวันนี้ศาลาก็จะพังแล้ว คอยดูน่ะ ปรากฏว่าตอนบ่ายวันนั้นเอง มีเมฆดำขนาดใหญ่ลอยมาเหนือวัดและมีพายุพัดแรงมากจนศาลาลอยตัวขึ้นทั้งหลังแล้วถูกปล่อยตกลงมากระแทกพื้นอย่างแรง ทำให้ศาลา พังทลาย หลวงปู่เล่าว่า สาเหตุที่ศาลาลอยขึ้นทั้งหลังนั้นเนื่องจากหลังคาศาลาทำด้วยแผ่นกระเบื้องเรียงซ้อนกันถี่และหนักเมื่อลมพายุพัดมา แผ่นกระเบื้องที่ถูกตรึงติดไว้ดีแล้วจึงไม่ปลิวหลุดเป็นแผ่นๆ แรงลมพายุที่อยู่ใต้หลังคาจึงสามารถดันให้ศาลาทั้งหลังลอยตัวขึ้นไปได้ เสมือนหนึ่งศาลาทั้งหลังถูกอุ้มลอยขึ้นไป เมื่อแรงลมอ่อนลงศาลาจึงถูกปล่อยตกลงมากระแทก
พื้นเสียหาย ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๖ หลวงปู่ก็สร้างโบสถ์ใหม่ที่ตำแหน่งเดิมนี้อีกวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๐๖ คณะตำรวจภูธรเขต ๔ และพ่อค้าชาวจีนร่วมกันสร้างศาลาการเปรียญ (หลังที่มียักษ์สองตนยืนเฝ้าอยู่ข้างหน้า) ซึ่งสร้างเสร็จเมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๐๗ โดยหลวงปู่เป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างเองในปี พ.ศ.๒๕๑๔ ก็เริ่มสร้างกุฏิสองชั้นพื้นไม้มะค่า (หลังที่หลวงปู่พักอาศัยอยู่ประจำในปัจจุบัน) ซึ่งตรงกับนิมิตที่เคยเห็น หลวงปู่มั่นที่กุฏิในพรรษาต้นๆ ดังที่เคยกล่าวมาแล้วในวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๒๖ หลวงปู่ได้เริ่มสร้างอุโบสถหลังใหม่ลงที่เดิมที่เคยสร้างศาลากลางน้ำแล้วถูกพายุพัดพังทลายลงโดยออกแบบตามนิมิตที่เกิดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๔ ซึ่งทำการก่อสร้างเป็น
คอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหลัง รอบฐานอุโบสถมีขนาดกว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๔๐ เมตร มีทั้งหมด ๓ ชั้น ซึ่งแต่ละชั้นจะมีลักษณะต่างกันคือชั้นที่ ๑ เป็นชั้นล่างเจาะลึกลงไปใต้ดิน ฤดูฝนใช้เป็นที่เก็บน้ำฝน ส่วนฤดูแล้งใช้เป็นที่นั่งพักผ่อนได้เย็นสบายเพราะเป็นที่โปร่งมีการระบายอากาศได้ดีชั้นที่ ๒ เป็นวิหารการเปรียญ รอบพระวิหารมีอาศรม ๑๐ หลัง ทางทิศใต้ของวิหารมีมณฑป ๑ หลัง รองรับรอยพระพุทธบาท และวิหารคตอีก ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๒๒ เมตร ยาว ๔๐ เมตรชั้นที่ ๓ เป็นพระอุโบสถ รอบพระอุโบสถมีมณฑปจำนวน ๔ หลัง อุโบสถหลังใหม่นี้สร้างสำเร็จในปี พ.ศ.๒๕๓๓ และทำการ ประกอบพิธีฝังลูกนิมิตเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๓๓ขณะที่สร้างพระอุโบสถนี้อยู่จวนจะแล้วเสร็จ หลวงปู่ได้นิมิตเห็นอดีตสมเด็จพระสังฆราชเสด็จมาแล้วตรัสว่า จะขอเยี่ยมชม
พิพิธภัณฑ์โบราณสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และพระพุทธบาทรูปศักดิ์สิทธิ์ตั้งแต่ครั้งโบราณกาลในพระอุโบสถ เมื่อเสด็ยเข้าไปในตัวพระอุโบสถเพื่อชมพระพุทธรูป ปรากฏว่าทรงอ่อนเพลียไม่มีเรี่ยวแรง เดินไม่ได้ หลวงปู่จึงอุ้มสมเด็จพระสังฆราชลอยขึ้นไปชมชั้นสองของพระอุโบสถ (ในนิมิตนั้นยังไม่มีบันไดขึ้นไปสู่ชั้นสอง) หลวงปู่จึงตื่นจากนิมิต นิมิตนี้หมายความว่า เพราะบุญบารมีของหลวงปู่ที่มีมาแต่ปางก่อน จะเป็นสิ่งสนับสนุนให้สร้างอุโบสถได้สำเร็จ และมีความศักดิ์สิทธิ์เนื่องจากบุญบารมีของผู้สร้างกลับมากล่าวถึงภายในตัวอุโบสถชั้น ๒ ที่เป็นวิหารการเปรียญซึ่งเป็นที่ฝึกบำเพ็ญเพียรภาวนา เมื่อก้าวพ้นประตูด้นตะวันออกเข้าไปข้างในจะพบว่าข้างหน้ามีพระประธานขนาดใหญ่ สีทอง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีลักษณะงดงามมากพระพักตร์มีรอยยิ้มดูอ่อนโยน เมตตา พระเนตรทอดต่ำ เหมือนกับจะก้มลงมองดูพุทธศาสนิกชนที่มากราบนมัสการท่าน ผู้ที่มาสวดมนต์บำเพ็ญเพียรภาวนาที่โบสถ์นี้ประจำทุกค่ำเช้ามักจะพูดกันว่า พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์นี้เวลากลางคืนมองดูแล้วเสมือนหนึ่งท่านหลับพระเนตรลง และในตอนเช้า-กลางวันจะมองเห็นท่านเบิกพระเนตรขึ้น และบางคนก็ว่า ถ้าปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตั้งใจภาวนาจะมองเห็นท่านเบิกพระเนตรขึ้นมองดูเมื่อเข้ามาอยู่ภายในโบสถ์จะรู้สึกว่าเย็นชุ่มชื่นกว่าปกติ เนื่องจากแนวรอยต่อพื้นแต่ละชั้น หลวงปู่ได้ทำให้เป็นช่องว่างห่างกันประมาณ ๓๐ ซม. และมีคานรับน้ำหนักพื้นชั้นบนสูงประมาณ ๔๐ ซม. ห่างกันเป็นช่องๆ ซึ่งแต่ละช่องจะมีรูสำหรับให้น้ำไหลผ่านหมุนเวียนรอบโบสถ์ได้ และจะมีเครื่องดูดอากาศออก และดูดไอน้ำเข้าจากพื้นด้านในโบสถ์ เพื่อให้ไอน้ำกระจายในตัวโบสถ์ ทำให้เกิดความชุ่มชื่น จะเห็นได้ว่าเป็นลักษณะการสร้างที่ไม่เหมือนใคร เรียกได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของหลวงปู่โดยแท้ทั้งนี้เป็นเพราะพรสวรรค์และบุญบารมีที่หลวงปู่ได้สั่งสมมา ทำให้สามารถสร้างโบสถ์ที่ใหญ่สวยงามวิจิตรได้ทั้งๆ ที่หลวงปู่ไม่ได้เรียนด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์มาเลย รูปทรงโบสถ์ทั้งหมดเขียนแปลนออกมาจากนิมิตทั้งสิ้น ในปีพ.ศ.